top of page

Activities

กิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน

     *  ชมอาคารพิพิธภัณฑ์  แหล่งโบราณคดีอายุ 2,500 – 3,000 ปี  
     *  ชมหัตถกรรมพื้นบ้านจากกกจันทบูรณ์  เช่น หมวก กระเป๋า แฟ้มเอกสาร
     *  ชมการทอผ้าท้องถิ่น เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าโทเร
     *  ชมการผลิตเครื่องดนตรีไทย  การทำพิณ ซอด้วง ซออู้
     *  ชมกลุ่มสตรีทำขนมและอาหาร
     *  พิธีบายศรีสู่ขวัญ ชมวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การดำนา เกี่ยวข้าว
     *  นั่งเรืออีโปงชมลำน้ำศักดิ์สิทธิ์
     * นั่งรถอีแต๋นชมแหล่งท่องเที่ยว เช่น อนุสรณ์สถานทุ่งสัมฤทธิ์ ปราสาทหินพิมาย

DSC_0517
DSC_0500
DSC_0497
DSC_0511
DSC_0494
DSC_0493
DSC_0485
DSC_0475
DSC_0472
DSC_0669
DSC_0663
DSC_0662
DSC_0652
DSC_0649
DSC_0713
DSC_0698
DSC_0704

หลุมขุดค้นที่ 1 

        มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้ แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย  ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500 ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือมีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง

หลุมขุดค้นที่ 2 

        ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า “กู่ธารปราสาท” และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท

หลุมขุดค้นที่ 3 

         พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ และภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง 500 เมตร ชาวบ้านชุมชนปราสาทมีประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี

พิพิธภัณฑ์บ้านปราสาท

            พิพิธภัณฑ์บ้านปราสาทเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท เป็นศูนย์ข้อมูลที่อธิบายถึงคุณค่าและความสำคัญของหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบภายในบริเวณบ้านปราสาทใต้ รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการขุดค้นและหลักฐานทางโบราณคดีในเขตอีสานใต้ รวมถึงข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณบ้านปราสาทนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ลำปราสาท ลำน้ำศักดิ์สิทธิ์

           ถือว่าเป็นลำน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 ของแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของประเทศ โดยครั้งแรกเมื่องานพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ. 2493 ประกอบพิธีกาญจนาภิเษกและพิธีฉลอง 72 พรรษา 6 รอบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชการที่ 9 ปี2536 และ พ.ฯศ.2542 ตามลำดับอีกด้วย

ศาลปู่ตา(ศาลตาปู่)

ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ขนาด 9 คนโอบ อายุหลายร้อยปีเชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปกปักรักษาคุ้มครองชาวบ้าน

ชมกลุ่มสตรีทำขนมและอาหาร
    


 พิธีบายศรีสู่ขวัญ ชมวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การดำนา เกี่ยวข้าว
     


 นั่งรถอีแต๋นชมแหล่งท่องเที่ยว เช่น อนุสรณ์สถานทุ่งสัมฤทธิ์ ปราสาทหินพิมาย

bottom of page